ดอกไม้สวยงาม

Posted in song | Leave a comment

กำหนด buffer bypass กับ bigsky


การใช้   effect pedal ประเภทต่าง ๆ ที่เราสรรหามาใช้งานนั้น  ความต้องการแรกคือ ต้องการได้ขนิดของเสียง รุ่น และยี่ห้อที่เราประทับใจ แล้วนำมาประกอบจัดเรียงตามลำดับก่อนหลัง เพื่อสามารถใช้งานตามปกติทั่วไป ๆ
ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสาร สามารถศึกษาได้อย่างกว้างขวาง ทำให้เราทราบเพิ่มเติมว่า  effect pedal ที่เราหามาใช้งานนั้น จะแบ่งประเภทเป็น buffer  bypass และ true bypass เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียด จำเป็นต้องศึกษา และทดสอบกับอุปกรณ์ที่เรานั้นมีใช้อยู่ โดยมีผลจากการใช้ effect pedal 2 ประเภทนี้คือ หากมีการต่อพ่วงหลาย ๆ ตัว จะทำสัญญาณความแหลมใส drop ลง นักดนตรีจึงขวนขวายที่จะหา effect pedal ประเภท buffer มาต่อพ่วงต้นทาง หรือปลายทาง เพื่อลดการสูญเสียความแหลมใสของสัญญาณ เนื่องจากในวงจร และสายสัญญาณที่ต่อพ่วง จะมีค่า impedance (ไม่แน่ใจศัพท์ทางช่างไฟฟ้า) ทำให้เนื้อเสียงเปลี่ยนไป แต่ใครจะได้ยินชัดหรือไม่นั้น ต้องทดลองกับตัวเองดู
มาพูดถึง big sky   จะมีการปรับค่า Global Setting   ให้เลือกอยู่ 2  ชนิดคือ True Bypass และ Buffer Bypass    เมื่อเราทดลองปรับค่า และใช้งานดู จะเห็นควรแตกต่างของเนื้อเสียงดังกล่าวจริง ๆ แต่จะเลือกใช้แบบใด คงต้องขึ้นอยู่กับ ความชอบของแต่ละคน…..ดังนั้นจึงบอกไม่ได้ว่าแบบใดดีกว่ากัน……

Posted in song | Leave a comment

ใช้ cap filter กับ bigsky

ปัจจุบัน  effect pedal ประเภท  cap sim หรือ ประเภทจำลองดอกลำโพง / ไมค์จ่อลำโพง เลียนเสียงแอมป์ที่มีราคายี่ห้อต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนา เข้าใน effect สมัยใหม่มากขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ในต่อตรงเข้ากับ mixer โดยไม่ผ่านลำโพงแอมป์ ที่เราใช้อยู่กันเป็นประจำ อาจเป็นเพราะ สถานที่ใช้งานไม่มีตู้แอมป์ให้ใช้ หรือตู้แอมป์ที่มีไม่ตอบสนองต่อสัญญาณเสียง หรือคุณภาพที่ดีต่อนักดนตรี   อุุปกรณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นมาตอบสนอง และเพื่อปิดจุดอ่อนตรงนี้  ซึ่งในท้องตลาดจะมีหลากหลายราคา ตามกำลังที่จะหามาใช้……หรืออีกกรณี จะใช้  เป็น  output ที่มีการจำลองดอกลำโพง ชนิดแอมป์ เข้ากับ  soundcard  เพื่อต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการบันทึกเสียงนั่นเอง….

สำหรับ reverb ของ  straymon รุ่น   bigsky ที่ใช้อยู่ จะมี  cap filter  ให้เปิดใช้ ศึกษาจากวิดิโอที่มีผู้เชี่ยวชาญทดลองใช้งาน และเปรียบเทียบระหว่างการเปิด และปิด นั้น ปรากฎว่าได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า คือใสกว่า และทันสมัยขึ้น
ดังนั้น การปรับ  effect pedal ตัวอื่น ๆ จะต้องปรับตาม เนื่องจากท้ายสุดของอุปกรณ์จะวาง big sky ไว้ในลำดับสุดท้าย เสียงตัวแรก ๆ ที่ปรับใช้มาจะถูกปรับความถี่สัญญาณให้ดีขึ้นด้วย  big sky นั่นเอง   ดังนั้น เปิดใช้งาน  cap flter ของ  big sky  เราจะได้ประสบการณ์ของคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นมาก ๆ…..

 

Posted in song | Leave a comment

ดอกบัว สวยงาม

ดอกบัว 1 ดอก กับ 3 มุมมอง

Posted in song | Leave a comment

สลับ single coil ตัว bridge (ท้าย) กับตัว neck (แรก)

– ถอด  seymour dancan ออกไปอีกแล้ว อาจเป็นเพราะต่อวงจรไม่ถูกต้อง ทำให้ได้เสียง สวิทซ์ที่ 5  เสียงค่อนข้างเบา   และไปทางแหลม แข็ง แต่ได้เสียง  drive หนาขึ้น
– ปรับมาใช้  single coil สลับตัวแรก กับตัวท้าย เพื่อให้ได้เสียงที่สมดุลขึ้น ด้วยเหตุเสียงกีตาร์ของผมเอง (เดิมตัวแรกทุ้มมาก)
ผลการทดสอบ
1) เป็นที่น่าพอใจ เพราะ นำตัวท้ายที่ออกแบบสำหรับเสียงใส มาใช้กับตำแหน่งเสียงทุ้ม
2) นำตัวทุ้มตัวแรก ไปใส่ตำแหน่งท้าย เพื่อให้ได้เนื้อเสียงความทุ้มขึ้นมาชดเชย
เสียงสมดุลกันมาก ๆ ไม่กระโดด เหมือนอย่างที่เคยเป็น ทดลองใช้สักระยะหนึ่ง แล้วลองมาสรุปอีกทีครับ

Posted in song | Leave a comment

ทดลองสลับ single coil pickup

จากการทดลองเปลี่ยน pickup guitar  ตัว bridge ใกล้สพานสาย  ซึ่งสามารถทำเองได้นั้น  strat ที่ใช้อยู่ตัว neck ค่อนข้างอุ่น ๆ  หรือทุ้ม ตามตำแหน่งที่วางใกล้คอกีตาร์ ซึ่งใช้มานานจนถึงปัจจุบัน  โดยปัจจุบัน สไตล์การใช้งาน และเสียงที่ได้จากศิลปินต่าง ๆ มีการติดตั้ง ตัว bridge มาใช้กับตัว neck กับ middle  นับเป็นการแหกกฎ  แต่น่าจะทดลองปรับเปลี่ยนดู เพราะไม่ได้ลงทุนอะไร
– การเปลี่ยน pickup และสลับตำแหน่ง เพื่อให้ได้เสียงที่เราชอบ ทำได้ง่าย
– การสลับตำแหน่ง (nectk-middle-bridge) น่าจะได้เสียงที่แตกต่าง ผลที่ได้ตามแต่ผู้ใช้ที่จะประทับใจหรือไม่

  • strat mexico ที่ผมใช้อยู่นั้น ราคาไม่แพง และมีอายุการใช้งานนานแล้ว (ไม่ใช่ของใหม่) การทดลองเปลี่ยนอุปกรณ์ จึงไม่น่ากังวลใจเท่ากับกีตาร์ตัวใหม่ มีราคาสูงจากผลการทดสอบ
    – ใช้ ตัว bridge มาใช้กับ neck ความดังเสียงสมดุลกัน ลดความทุ้มลงไปมาก  (หมายถึงตัวกีตาร์ที่ผมใช้ มีความทุ้มมาก และการปรับ swith ระหว่าง 1-5 มีค่าความดังค่อยเห็นได้ชัด)
    แสดงถึงว่าตัว bridge ถูกออกแบบให้เสียงใส กังวาล   ดังนั้นการนำ pickup ตำแหน่งดังกล่าวมาไว้ตำแหน่งคอกีตาร์ จะช่วยลดความทุ้ม และบวมลง (จากลักษณะการปรับตู้แอมป์ , ขนาดตู้แอมป์ และการปรับค่า gain,volume,tone ของผู้ใช้)
    – ส่วนตัว neck ซึ่งเป็น single coil เก็บไว้ทดลองครั้งต่อไป ว่าการเปลี่ยนไปใส่ ตำแหน่ง bridge จะทำให้ตัวนี้ที่ค่อนข้างทุ้ม ไปอยู่ตำแหน่ง bridge แล้วเสียงจะเป็นอย่างไร
    – ตัว  bridge ปัจจุบันใช้ seymour duncan jbjy  ลองใช้สักระยะแล้วค่อยทดลองต่อไป
  • สรุป การนำ single coil จาก bridge มาใช้ที่ตำแหน่ง  neck   น่าประทับใจ และรู้สึกว่าเล่นได้เข้ากับแนวเพลงบรรเลง ของนักกีตาร์ สาย modern ที่มี spec guitar และ pickup ที่ ออกแบบใหม่ได้เสียงที่กว้างขึ้น และสมดุลระหว่าง selector 5 switch แต่แน่นอน ก็จะไม่ได้เสียงแบบเดิม ๆ ต้องทดลองใช้สักระยะหนึ่ง  จึงจะสามารถตัดสินใจว่าว่าพอใจในเสียงที่ได้หรือไม่ครับ…..
Posted in song | Leave a comment

ทดลองเปลี่ยน Seymour Dancan JBJR

ได้รับความกรุณา pickup Seymour Dancan JBJR  จากผู้ใหญ๋ใจดี   จึงจะทดลองติดตั้งลงในช่อง Bridge ของ Fender Mexico เพื่อทดลองเสียง ความตั้งใจแรก รู้สึกกังวลว่า การเชื่อมต่อบัดกรีสาย จะทำได้ยาก น่าจะให้ร้านค้าช่วยเปลี่ยนให้ แต่เนื่องจากเป็นงานชิ้นเล็ก ๆ แต่ค่อนข้างละเอียด คือ ติดตั้งแล้ว เราอาจไม่พอใจ และอยากจะปรับแก้ไข อาจไม่สะดวกกับทางร้าน  น่าจะลงมือทำเองดีกว่า และได้ความรู้ไว้ต่อยอด ในอนาคต จึงทดลองศึกษาดูจาก google พบว่ามีผู้ทำ Video ไว้  ผลการทดลอง เปลี่ยนและทดลอง ใช้เวลาพอสมควร…….บันทึกไว้เป็นข้อมูลจนกว่า จะสำเร็จและพอใจ

ครั้งที่ การเชื่อมต่อสาย คุณภาพเสียง
1 pick up เดิม จะมี 2 สายคือ สีดำเชื่อมไปกราวด์ สีขาวไปยัง switch
Seymour Dancan จะมี 4 เส้น
– สีเขียว เชื่อมไปยัง กราวด์
– สีดำ เชื่อมไปยัง switch
ส่วนอีก 2  สาย พันและเก็บไว้เพราะใช้สำหรับ ตัดคอยล์  (ต้องหาซื้อสวิทซ์ตัดคอยน์ ) ใช้สายสี ขาวและสีแดง
– เสียงตัว  bridge คือ switch ที่ 5  เสียงเบามาก
– เสียงผสม switch ที่ 4 pick up เดิมดังกว่าตัว bridge เห็นได้ชัด ทั้งที่ตัว pickup ที่เปลี่ยนมี output ที่ค่อนข้างแรง เพราะเป็น แบบ mini humbucker

มาทบทวนสาเหตุ ว่าจะมีการต่อสาย ผิดหรือไม่  มีคำแนะนำให้ทำการสลับ phase  ตัว pick up ตัวกลางคือตัว middle   ดังนี้
1.  pickup middle fender เดิม มี 2 สาย ปกติ
– สายสีดำเชื่อมต่อ ground
– สายสีขาว เชื่อมต่อ switdh
2.   ให้ทำการเปลี่ยน phase เป็นผลจากการติดตั้ง pickup ยี่ห้ออื่น ผสมกับ pickup fender เดิม
– สายสีดำ  ปรับเป็น เชื่อมต่อ switch
– สายสีขาว ปรับเป็น เชื่อมต่อ ground

ครั้งที่ การเชื่อมต่อสาย คุณภาพเสียง
1 ผลทดสอบจากการเปลี่ยน phase รอผลการทดสอบ
Posted in song | Leave a comment

พ่นกราไฟต์

กีตาร์ ทรง fender ที่มี  single coil 3 ตัว ได้จะได้เสียงที่ใส  แต่จะมีเสี่ยงจี่ ตามมาด้วย
วิธีที่ใช้ในการลดเสียงจี่
= ต่อสายกราวน์  เชื่อมน็อตที่หลังตู้แอมป์
– ติดแผ่นฟรอยด์ ในบริเวณห้องเครื่อง สวิทย์ ปิคอัพ ช่วยลดเสียงรบกวนได้ 50% ขึ้นไป
– พ่นกราไฟต์ในห้องเครื่อง 2-3 รอบ  และตรวจสอบสายกราวด์ไม่หลุดหรือขาด ช่วยลดเสียงรบกวนได้ 95-100%

ทดสอบดูแล้ว เสียงจี่ลดแทบไม่มีเท่าที่เราจะได้ยิน ทำให้การเล่นกีตาร์ สนุกขึ้นเยอะครับ

Posted in song | Leave a comment

libreoffice

ภายหลังจากได้ใช้ software windows ลิขสิทธิ์แล้ว เราควรหา office program ที่ถูกลิขสิทธิ์มาใช้งานเพื่อให้การปฏิบัติงานราบรื่น แต่หากหน่วยงานมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ เราจึงเน้นการใช้ software ประเภท opensource  ซึ่งปัจจุบันจะมี LibreOffice ซึ่งทำงานได้ดีและมีพัฒนาการและปรับปรุงให้ทันสมัยมากกว่าเดิม
ข้อดีคือ

  • software opensource ใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • คุ้นเคยหากเป็นผู้ใช้ Linux มาก่อน เนื่องจาก Libreoffice เป็น Office หลักอยู่แล้ว
  • ทำงานง่ายขึ้น และปัญหาน้อยลง แทบจะไม่แตกต่าง เว้นแต่ความคุ้นเคย หรือผู้ที่จำเป็นต้องใช้งานลักษณะพิเศษจริง ๆ ของ office windows
  • แนะนำให้ทดลอง Download มาใช้กัน
Posted in song | Leave a comment

สร้าง ผสมเสียงด้วย zoom ms50g

Zoom 50g เป็น Multieffect ขนาดก้อน จึงประหยัดพื้นที่การวางใน board มี effect ครอบคลุมทุกชนิด และเนื้อเสียงดี มีจุดเด่นคือ
– แต่ละ patch ผสมเสียงได้ถึง 5-6 ชนิด
– และใน 5-6 ชนิดดังกล่าว สามารถเลือกซ้ำได้ เช่น EQ ตัวแรก  และ EQ ตัวที่สอง หรือจะเป็น
Inteligent Hamonize ตัวแรก ปรับคีย์ C เป็นคู่ -3  ผสมกับ Inteligent Hamonize ตัวที่สอง ปรับคีย์ C เป็นคู่ 5 ก็ได้เป็นต้น
– สามารถจัดเรียงลำดับ ก่อนหลัง สลับไปมาได้ไม่จำกัด และได้เสียงที่แตกต่าง
เมื่อมีเวลา เราจึงมาทดลอง สร้างเสียง Drive แบบตู้แอมป์หลอดแตกพร่า ประมาณมือ Rhythm ของวง AC/DC   ทดลองนำ effect 2 ชนิดมาผสมกันประกอบด้วย
 จับคู่ จำลองเสียง Drive + Amp คู่ที่ 1
– Central Gold  น่าจะเลียนเสียงก้อนของ central
– MS 1959  น่าจะเลียนเสียงแอมป์ของตู้ Marshall
ลองสลับลำดับก่อนหลัง พบว่าได้เสียงแตกต่าง และได้ความรู้สึกของ AC/DC มาใกล้ ๆ ทันที จึงทำการ Save Patch ชื่อว่า AC/DC ซะเลย…………..ยังสามารถเพิ่ม effect ได้อีก 3-4 ก้อน ค่อย ๆ ลองทดสอบ และเลียนเสียงดูพบว่า effect Zoom ก้อนนี้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และคุ้มราคามาก ๆ….
วันนี้ผมทดสอบจับคู่กันใหม่ หลังจากดูวิดิโอ สาธิต effiect Zoom G11 (รุ่นใหม่) นำเคล็ดลับมาลองกับรุ่นเล็ก ๆ ที่เรามี
 จับคู่ จำลองเสียง Drive + Amp คู่ที่ 2
– TSDrive น่าจะจำลอง เสียงก้อนของ เสียงแตกก้อนเขียวของ Tubescremer
– MS 1959 เลียนเสียงแอมป์ของตู้ Marshall
****ประทับใจคู่นี้มากกว่า  *****     

 

Posted in song | Leave a comment