รายงานข้อมูล OIT 2566

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ

ข้อ ข้อมูล องค์ประกอบด้านข้อมูล ้เอกสาร อยู่ระหว่างการเตรียมการรวบรวม
19 แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือ
แผนการจัดหาพัสดุ
แสดงแผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุตามที่
หน่วยงานจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ตามวงเงินงบประมาณที่หน่วยงานได้รับการจัดสรร)
• เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปี พ.ศ. 2566
• รวมทั้งกรณีการจัดจ้างที่มีวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทหรือการจัดจ้างที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ยกตัวอย่างเช่น ประกาศเชิญชวน ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
• กรณีไม่มีการจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน 5 แสนบาทหรือการจัดจ้างที่กฎหมายไม่ได้ กำหนดให้ต้องเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างให้หน่วยงานอธิบายเพิ่มเติมโดยละเอียด หรือเผยแพร่ว่าไม่มี
การจัดซื้อจัดจ้างในกรณีดังกล่าว
• ต้องใช้เอกสารฉบับจริงหรือสำเนาเอกสารที่ปรากฏลายมือชื่อหัวหน้าหน่วยงานลงนามเท่านั้น
ข้อสังเกต
- หน่วยงานควรดำเนินการจัดทำแผนการจัดซื้อ-จัดจ้าง หรือแผนการจัดหาพัสดุภายในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2566
 
20 ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ แสดงประกาศการจัดซื้อจัดจ้างตามที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560 ยกตัวอย่างเช่น ประกาศเชิญชวน ประกาศผล
การจัดซื้อจัดจ้างเป็นต้น
• เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปี พ.ศ. 2566
• ต้องใช้เอกสารฉบับจริงหรือสำเนาเอกสารที่ปรากฏลายมือชื่อหัวหน้าหน่วยงานลงนามเท่านั้น
ข้อสังเกต
- หน่วยงานควรดำเนินการให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติและ
กรอบระยะเวลาของ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. 2560
 
21 สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
หรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
• แสดงรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน โดยสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างตาม “แบบสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน” (แบบ สขร. ๑)
• มีข้อมูลรายละเอียดผลการจัดซื้อจัดจ้าง ยกตัวอย่างเช่น งานที่ซื้อหรือจ้างวงเงินที่ซื้อหรือจ้าง ราคากลาง วิธีการซื้อหรือจ้าง รายชื่อผู้เสนอราคาและราคาที่เสนอ ผู้ได้รับการคัดเลือกและราคาที่ตกลงเหตุผล ที่คัดเลือกโดยสรุป เลขที่และวันที่ของสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อหรือจ้าง เป็นต้น
• เป็นข้อมูลแบบรายเดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566
• จะต้องจำแนกข้อมูลเป็นรายเดือน เป็นประจำทุกเดือน(กรณีไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนใดให้ระบุว่า “ไม่มีการจัดซื้อจัดจ้าง”)
ข้อสังเกต
- ควรจัดทำข้อมูลทุกรายการที่หน่วยงานได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
- ตัวอย่าง “แบบ สขร. ๑” ปรากฏในภาคผนวก
- หน่วยงานควรดำเนินการให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติและกรอบระยะเวลา
ของ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
 
22 รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี • เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2565
• แสดงรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน ซึ่งเป็นข้อมูลตลอดระยะเวลาของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5
• มีข้อมูลรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
1. งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง
2. สรุปรายการที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง
3. ปัญหา/อุปสรรค
4. ข้อเสนอแนะ
ข้อสังเกต
- ตัวอย่าง “รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
ประจำปี” ปรากฏในภาคผนวก
- หน่วยงานในส่วนกลาง สามารถนำรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง
หรือจัดหาพัสดุประจำปี จากกลุ่มงานพัสดุ สำนักอำนวยการ สป.
ขึ้นเว็บไซต์หลักของหน่วยงานเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ